การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ถ้าตอบเร็วๆก็คือ “ยุ่งยากมาก” ครับ ถ้าสำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่อยากติดตั้งโซลาเซลล์แล้วผมแนะนำให้ท่านทำเอกสารมอบอำนาจให้คนขายระบบโซลาเซลล์เป็นคนยื่นขออนุญาตให้จะดีกว่าครับ

จริงๆการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และ ขนาดการติดตั้งของโซลาเซลล์ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ในกรณีของโซลาเซลล์ภาคประชาชนขนาดไม่เกิน 10 kW ที่กำลังเป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจกันมากอยู่ตอนนี้นะครับ โดยโซล่าภาคประชาชนปี 62 นั้นสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

การไฟฟ้านครหลวง (MEA) : https://spv.mea.or.th/

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA : https://ppim.pea.co.th/

โดยขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์และขออนุญาตขายไฟฟ้ามีดังนี้

Source: PEA

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ จะมีขั้นตอนเริ่มจากการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า online โดยผู้สมัคร หรือ คนขายระบบโซลาเซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ upload เอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอ MEA/PEA พิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน และจะ ตรวจสอบ capacity ของหม้อแปลงว่าสามารถรับระบบ โซลาเซลล์ได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะดำเนินการแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยืนแบบ คำขอขายไฟฟ้า จนถึง ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครับ เมื่อแล้วเสร็จจะดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า และ ลงนามซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะต้องไปชำระค่าบริการที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ การไฟฟ้านครหลวงประจำท้องที่ที่ติดตั้งครับ

เมื่อชำระค่ามิเตอร์ และ ลงนามแล้ว จะต้องมีการแจ้งทางโยธาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/เขต) โดยมีแบบสำรวจสถานที่ตั้ง และ การคำนวนความปลอดภัยด้านโครงสร้างซึ่งมีวิศวกรโยธารับรอง โดยทางวิศวกรโยธาจะพิจารณาว่ามีจำเป็นจะต้องเสริมโครงสร้างหรือไม่ และหลังจากนั้นจะต้องนำเลขสัญญา เอกสารแจ้งกับทางส่วนท้องถิ่น เพื่อมายื่นขอ การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับทาง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเมื่อได้เอกสารชุดนีแล้วทางการไฟฟ้าจะส่ง วิศวกรมาตรวจระบบโซล่าเซลลว่าเป็นไปตามมาตราฐานการติดตั้งหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วทางการไฟฟ้าจะมาเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ digital เพื่อที่จะ ดำเนินการขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าต่อไป

โดยเบื้องต้นเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตการไฟฟ้า มีดังนี้

รายการ หมายเหตุ
1 หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ มิเตอร์ 1 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 5kW มิเตอร์ 3 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 10kW
2 ชนิด รุ่น ยี่ห้อ แผง solar cell
3 ชนิด รุ่น ยี่ห้อ ต้องเป็นรุ่นที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
4 แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร และแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ
5 เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
6 ข้อมูลอื่นๆ เช่น แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้าน

ระยะเวลาการพิจารณา                         ประมาณ 30 วัน

ค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต             9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter