กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ที่เหมาะสมจะสามารถทำให้การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มีประสิทธภาพสูงสุดแล้ว ยังจะทำให้การคืนทุน (payback)นั้นไวขึ้น โดยวิธีการเลือกขนาดกำลังติดตั้งที่เหมาะสมนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยการใช้ไฟฟ้าด้านต่างๆดังนี้

  1. ปริมาณการใช้กำลังไฟฟ้า (kW) โดยหากมีการใช้กำลังไฟฟ้ามาก ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งที่สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นก็จะมีมากขึ้น
  2. ช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่มีระบบกักเก็บพลังงาน (energy storage )นั้น จะสามารถผลิตไฟฟ้าในเวลากลางวันเท่านั้น ดังนั้นหากมีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากจะทำให้สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้มากขึ้น
  3.  phase balance ของระบบไฟฟ้า 3 phase  โดยปกติแล้วการติดตั้งไฟฟ้า 3 phase  จะต้องพยายามให้มีการกระจายของกระแสไฟฟ้าในแต่ละเท่าๆกัน นอกจากกระมีประโยชน์เรื่องของsafety ของมิเตอร์ และระบบไฟฟ้า แล้ว ด้าน solar cell เองก็มีประโยชน์เช่นกันโดยหากมีการติดตั้ง zero export แล้วนั้น inverter ของระบบโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าแต่ละ phase เท่าๆกัน ซึ่งจะผลิตไฟฟ้าเท่ากับ phase ต่ำที่สุด โดยถ้า 3 phase  มีค่ากำลังไฟฟ้าต่างกันมากจะทำให้ inverter ทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้านั้นจะได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  4. พื้นที่ติดตั้ง หากมีพื้นที่หลังคามาก็จะสามารถติดตั้งได้มาก ทั้งนี้การติดตั้งอาจจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างของหลังคาว่าสามารถรับแรงจากน้ำหนักแผ่นโซล่าเซลล์ และ อุปกรณ์ยึดติดแผ่น นอกจากนี้การออกแบบการวางแผ่นให้ได้ประสิทธิภาพมากนั้นจะต้องใช้ผู้เชียวชาญเพื่อดูเรื่องเงาที่เกิดขึ้น ในรอบปีว่า มีส่วนที่แผ่นโซล่าเซลล์โดนบัง ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟได้

ใบเสร็จค่าไฟฟ้าบ่งบอก กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ที่เหมาะสม

สำหรับวิธีการบ่งบอกกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แบบง่าย โดยปกติแล้วบิลค่าไฟฟ้าจะมี 3 ส่วน คือ

  1. ข้อมูลทั่วไป  โดยส่วนนี้จะเป็นช้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า วัน เวลาอ่านหน่วย
  2. ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า โดยส่วนนี้จะเป็นเลขอ่านก่อน-หลังจำนวนที่ใช้ และ ประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
  3. ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บ โดยส่วนนี้จะเป็นค่าพลังงานไฟฟ้าฐาน ค่าบริการรายเดือน ค่า Ft (ค่าไฟฟ้าตามสูตรปรับผันแปร โดยเป็นค่าที่คำนวนจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ see : https://www.mea.or.th/content/detail/2985/2987/472 ) และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สิ่งที่จำเป็นในการระบุกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมจากใบเสร็จค่าไฟฟ้านั้นมีดังนี้

  1. ค่าพลังงานไฟฟ้ารายเดือน โดยจะสามารถรู้ได้ว่าในแต่ละเดือนทางผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไปเท่าไร และ สามารถนำมาประมาณการการใช้ไฟฟ้ารายวันได้ โดยการหารกับจำนวนวันที่ได้มาจาก ส่วนของวัน-เวลาอ่านหน่วย หรือช่วงเวลาสำหรับระบบ TOU ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ประเภทมิเตอร์ การไฟฟ้าได้แบ่งผู้ใช้งานไฟฟ้าหลายรูปแบบ ซึ่งรูปแบบการใช้งาน ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บก็ย่อมแตกต่างกัน see: https://www.mea.or.th/profile/109/111  อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปแล้วจะมี 2 แบบ คือ อัตราปกติ ซึ่งเป็นแบบยิ่งใช้มากยิ่งแพง และ แบบ TOU (time of use tariff) ซึ่งมี on peak ( ช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ 09:00-22:00 ) และ off peak (เวลา 22.00 – 09.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์เวลา 00.00 – 24.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติวันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)

ซึ่ง on peak นั้นคือช่วงเวลาที่คนทั่วไปใช้ไฟฟ้ามาก ทำให้ค่าไฟฟ้าช่วงนี้จะแพง ในทางกลับกัน  off peak จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนใช้ไฟฟ้าน้อยทางการไฟฟ้าจึงสามารถขายไฟฟ้าในราคาถูกกว่า เพื่อที่จะชักชวนมาใช้ไฟฟ้าช่วงเวลาดังกล่าว โดยประเภทมิเตอร์นี้เราสามารถหาโดยนำหน่วยกำลังไฟฟ้า (kWh) ที่ระบุว่าเป็น on peak หรือ off peak หารกับเวลาที่ใช้ไฟฟ้า ก็จะสามารถได้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าช่วงดังกล่าวเพื่อที่จะหากำลังติดตั้งสูงสุดของระบบโซล่าเซลล์

ตัวอย่างการใช้ใบเสร็จค่าไฟฟ้าในการออกแบบกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์

ธุรกิจ A ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าแบบ 2.1.2 ในเดือนตุลาคม มีจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้า 4,632 หน่วย และ ค่าไฟฟ้าเดือนละ 21,100 บาทต่อเดือน สอบถามจากลูกค้าใช้ไฟฟ้าในช่วงกลาวันประมาณ 70% และ กลางคืน ประมาณ 30% โดยทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด เราควรใช้กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เท่าไร และ ใช้ค่าไฟฟ้าหน่วยละเท่าไรเพื่อคิดความคุ้มค่า

  1. คิดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ต่อวันโดยนำ 4632 หน่วย / 31 วัน = 149.4 หน่วยต่อวัน
  2. คิดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในช่วงกลางวัน โดยนำมาคูณกับ 70%  = 104.6 หน่วย
  3. นำมาหาชั่วโมงการทำงานของ solar cell ประมาณ 12 ชั่วโมง = 8.7 kW
  4. สำหรับ solar cell จะมี peak load ที่ประมาณ 80% = 8.7 / 80% = 10.9 kW

สำหรับค่าไฟฟ้าหน่วยละเท่าไรเพื่อใช้คำนวนความคุ้มค่าเราสามารถดูได้จากhttps://www.mea.or.th/profile/109/112 โดยในกรณีนี้ การติดตั้ง solar cell จะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประหยัดแต่ load ไฟฟ้าที่ใช้กับทางการไฟฟ้ายังคงเกินกว่า 400 หน่วย ดังนั้นการคิดค่าไฟฟ้าเพื่อใช้คำนวนความคุ้มค่านั้นจึงเท่ากับ 4.4217 บาทต่อหน่วย

ค่าไฟฟ้าแบบ 2.1.2

ดังนั้นใน case นี้ควรจะติดตั้งประมาณ 10-12 kW จะทำให้คุ้มค่าที่สุด โดยใช้ 4.4217   บาทต่อหน่วย  เพื่อใช้คำนวนความคุ้มค่า และ การลงทุน โดยขั้นตอนต่อไปจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV system Project Feasibility Study) ซึ่งสามารถดูได้จาก https://www.nexte.co.th/2019/11/27/project-feasibility-study/

Privacy Preference Center