BOI สำหรับโซล่าเซลล์ เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดตั้งได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
รูปแบบที่ 1 การจัดตั้งบริษัทซื้อ-ขายไฟฟ้า โดยจะต้องจัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟฟ้าให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน หรือ บริษัทอื่นๆ โดยรูปแบบนี้จะมีการได้สิทธิเรื่อง การยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ และ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปอีก 8 ปี ตัวอย่างเช่น จัดตั้งนิติบุคล ก มาขายไฟให้นิติบุคคล ข โดยที่ทั้งสองนิติบุคคลมีการซื้อขายไฟกัน คนที่ลงทุนกาติดตั้งโซล่าเซลล์จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร การแยกเป็นสองบริษัท หรือ นิติบุคคลนั้น เพราะการซื้อขายไฟฟ้า จะทำให้เกิดรายได้ซึ่งกำไรจากการผลิตไฟฟ้านั้นจะได้สิทธิยกเว้นภาษี นอกจากนี้อาจจะมีเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ต้องมีการจัดทำมาตราฐานดำเนินงาน เป็นต้น
รูปแบบที่ 2 รูปแบบกิจการลงทุนโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้าของตัวเอง รูปแบบนี้เพิ่งออกมาล่าสุด โดยบริษัทที่ในกลุ่มที่ BOI ให้การสนับสนุนลงทุนทำโซล่าเซลล์เองเพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยมีสิทธิประโยชน์คือ การลดภาษีเงินได้ของกิจการนั้นโดยที่ไม่ต้องตั้งนิติบุคคลใหม่ให้มีการซื้อขาย โดยจำนวนเงินที่สามารถลดภาษีนั้นคำควณได้จาก 50% ของเงินลงทุน และเอามาลดภาษีได้ภายในเวลาภายใน 3ปี นอกจากนี้ยังสามารถลดภาษีนำเข้า และ VAT เป็น 0% อีกด้วย โดยรูปแบบที่ 2 นี้เหมาะกับกิจการขนาดเล็ก ทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่มาก ถ้าเราไปตั้งนิติบุคคลใหม่มีการซื้อขายระหว่างกันก็จะมีความยุ่งยาก อันนี้อยู่ในกิจการเดิมอยู่แล้วแค่ติดตั้งโซล่าเซลล์ แล้วเอาเงินลงทุนของโครงการนี้มาลดภาษีใน statement เดิมของกิจการได้
การขอ BOI สำหรับโซล่าเซลล์ ทำอย่างไร
ทำได้ง่ายๆ โดยการติดต่อ BOI โดยตรง เดี๋ยวนี้ BOI สามารถขอแบบยื่นออนไลน์ได้ แต่ประเภทที่สอง กรอกแบบฟอร์มแล้วไปยื่นด้วยตัวเอง เมื่อยื่นเสร็จจะไปเข้าลิสแล้วทางเจ้าหน้าที่ BOI จะติดต่อมาให้เราไปชี้แจงโครงการเพื่อเตรียมประกอบการอนุมัติโครงการโดยบอร์ด BOI เรามีหน้าที่เข้าไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ ว่ากิจการดั้งเดิมของเราเป็นกิจการอะไร BOI ให้การสนับสนุนหรือเปล่า แล้วเราติดตั้งโซล่าเซลล์เท่าไหร่ แล้วจะขอสิทธิประโยชน์อะไร หลังจากชี้แจงแล้ว เจ้าหน้าที่จะรับเรื่องแล้วไปเข้าที่ประชุมของบอร์ด BOI ซึ่งทางเจ้าของกิจการต้องเข้าไปชี้แจงเรื่องกิจการของตัวเอง แต่ NextE จะเข้าไปช่วยสนับสนุนให้ข้อมูลเรื่องโซลล่าเซลล์ โดยสามารถเข้าไปดูในรายละเอียดอื่นๆได้จาก https://www.nexte.co.th/business-industrial-solar-solution/
แล้วจะใช้เวลาเท่าไหร่
ถ้าเป็นกิจการเล็กใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพราะชุดเล็กจะประชุมกันทุกอาทิตย์ และ กิจการขนาดใหญ่อาจจะนานกว่านี้
วิธีปฎิบัติในการขอส่งเสริมการลงทุนของ BOI
กิจการไหนสามารถขอสิทธิของ BOI สำหรับโซล่าเซลล์ได้บ้าง
กิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI สำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ นั้นมีด้วยกัน 8 กลุ่มกิจการดังนี้
- เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
- แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน
- อุตสาหกรรมเบา
- ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ
- กิจการบริการและสาธารณูปโภค
- การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
รูปแบบการขอ BOI สำหรับโซล่าเซลล์
หัวข้อ | การจัดตั้งบริษัทซื้อ-ขายไฟฟ้า | กิจการลงทุนโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้า |
สิทธิภาษีเงินได้ | 8 ปี | 50% ของเงินลงทุน ลดหย่อนได้ใน3 ปี |
สิทธิภาษีนำเข้า | อากรขาเข้า 10% + vat 7% | อากรขาเข้า 10% + vat 7% |
กิจการ | เหมาะกับขนาดใหญ่ หรือ กิจการด้านประหยัดพลังงาน | ขนาดเล็กที่สนับสนุนโดย BOI ทั้ง 8 กลุ่มกิจการ |
เวลา | 2 เดือน | 2 เดือน |
Ref:
ทดสอบ test
ขอสอบถามคะ ทาง BOI ยังมีการสนับสนุนติดตั้ง solar rooftop ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามเกณฑหรือเปล่าคะ
ในส่วนของบริษัท เอ.ยู.ที. จำกัด อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี พลาสติกคะ
การสนับสนุน 50% ของค่าติดตั้ง โดยการให้เป็นบัตรภาษีระยะเวลา 3ปีใช่ไหมคะ
ทางคุณธรณิน ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ คำนวณไว้ว่าค่าติดตั้ง solar rooftop ของโรงงานเรา จะทำได้สูงสุด มูลค่าประมาณ 10ล้านบาท ถ้าได้การสนับสนุนมา 50% คือ 5ล้านบาท จะต้องใช้เป็นเครดิตภาษีให้หมดใน 3 ปี (ปีละ 1.67ล.) และทาง เราสามารถทำทีละ 5ล้านบาทได้ไหมคะ พอครบ 3 ปี ก็ทำอีก 5 ล้านบาทคะ รบกวนติดต่อกลับ เสาวลักษณ์ Tel.0991151442)