ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ออกแบบระบบ เพื่อประยุกต์การเกษตร และ ชุมชนอย่างยังยื่น
บทนำ
น้ำ เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตที่สำคัญ ทั้งการอุปโภค บริโภค รวมถึงการทำการเกษตรต่างๆ แต่การสูบน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆขึ้นมาใช้ประโยชน์ ล้วนแต่ต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น ทำให้เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันรวมถึงการประกอบกิจการต่างๆ
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าติดตั้งโซล่าเซลล์ นั้นเริ่มเป็นที่นิยมกันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และ มีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นมีประโยชน์หลายประการ เช่น รักษาสิ่งแวดล้อม และ เป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ โดบปัจจุบันนี้นอกจากการติดแบบ on-grid เพื่อลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือนโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว การติดตั้งโซล่าเซลล์นี้ก็ได้มีการประยุกต์ใช้ในงานปั๊มน้ำจาก solar cell (ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์) ในการเกษตร และ อุปโภค บรืโภคกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
ข้อดี ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
- ลงทุนครั้งเดียว หลังจากนั้นสามารถสูบใช้น้ำได้ฟรีๆ
- สามารถติดตั้งในพื้นที่ห่างไกล ไม่ต้องต่อสายไฟของการไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่
ข้อเสีย ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
- ในบางกรณีต้องมีแหล่งเก็บน้ำที่สูบขึ้นมาได้ เนื่องจากแสงอาทิตย์มีธรรมชาติที่ให้พลังงานไม่สม่ำเสมอ จึงต้องมีแหล่งกักเก็บน้ำเป็นที่สำรองน้ำเพื่อการใช้น้ำที่ต่อเนื่อง
รูปที่ 1 รูปแบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
สิ่งที่ต้องรู้ในการออกแบบ “ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์”
- ปริมาณความต้องการใช้น้ำ (Flow) อาจจะระบุเป็นปริมาณลูกบาตรเมตรต่อวัน หรือลูกบาตรเมตรต่อเดือน เพื่อให้สามารถออกแบบขนาดระบบได้เหมาะสมต่อการใช้งาน
- ความต่างของระดับน้ำ (Head) โดยคิดเป็นระยะทางแนวดิ่งจากจุดที่ทำการสูบน้ำไปจนถึงปลายสุดของท่อส่งน้ำ เพื่อคำนวนพลังงานที่ต้องใช้ในการสูบน้ำต่อลูกบาตรเมตร
- ชนิดของแหล่งน้ำ เช่น แหล่งน้ำผิวดิน (เช่น แม่น้ำ คลอง บึง ทะเลสาบ) หรือบ่อน้ำบาดาล มีผลต่อการเลือกชนิดของปั๊มน้ำ โดยส่วนมาก แหล่งน้ำผิวดินที่ระยะ Head ไม่สูงจะใช้ปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง เนื่องจากมีราคาถูก ปริมาณ Flow เยอะ แต่หากเป็นบ่อน้ำบาดาลที่มีระยะ Head สูงๆ นั้น ส่วนมากจะแนะนำให้ใช้ปั๊มแบบจุ่ม เพื่อให้สามารถสูบน้ำขึ้นไปที่สูงๆได้
- ปั๊มน้ำ DC เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ปั๊มน้ำ AC ในแง่ประสิทธิภาพ ดังนั้นหากมีปั๊ม DC ที่ขนาดเหมาะกับงานของเรา ก็ควรเลือกใช้ปั๊ม DC แต่หากไม่มีปั๊ม DC ที่เหมาะสม หรือต้องการสลับใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าในบางช่วงเวลาจึงเลือกใช้ปั๊ม AC แทน
- หากในพื้นที่สูบน้ำมีสายส่งของการไฟฟ้าร่วมอยู่ด้วย การเลือกใช้ระบบที่รองรับทั้ง solar cell และไฟจากการไฟฟ้า สามารถช่วยลดขนาดของถังกักเก็บน้ำ หรือลดจำนวนของแผง solar cell ทำให้การลงทุนมีความคุ้นค่ามากขึ้น
รูปที่ 2 รูปแบบการติดตั้งปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบ submersible pump และ surface pump
ตัวอย่างการออกแบบ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ยกตัวอย่างกรณีของประปาหมู่บ้าน ขนาดประชากร 300 คน แหล่งน้ำเป็นแหล่งน้ำบาดาล ความลึกบ่อที่ขุดไว้เท่ากับ 30 เมตร ระดับน้ำบาดาลเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ความลึก 20 เมตร
- คำนวนหาความต้องการน้ำ สำหรับประชาชนพื้นที่เขตเทศบาลตำบล เท่ากับ 120 ลิตร ต่อคนต่อวัน (กรมชลประทาน, 2558) ดังนั้นความต้องการน้ำของชุมชนนี้เท่ากับประมาณ 36 ลูกบาตรเมตรต่อวัน
- ระดับน้ำบาดาลเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ความลึก 20 เมตร จึงเลือกวางปั๊มแบบจุ่ม (submersible) อยู่ที่ความลึก 30 เมตร
- ถังเก็บน้ำเดิมมีปริมาตร 40 ลูกบาตรเมตร สูงจากพื้นดิน 15 เมตร
รูปที่ 3 ตัวอย่างการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
- แผง solar cell ใช้แผง 360 Wp จำนวน 8 แผงต่อเข้ากับ MPPT-DC controller และต่อเข้ากับ DC ปั๊ม
- ผลการออกแบบ ปริมาณน้ำที่คาดว่าจะได้สูงสุดอยู่ที่ 13,950 ลูกบาตรเมตรต่อปี (จากปริมาณน้ำที่ต้องการทั้งหมด 14,600 ลูกบาตรเมตรต่อปี) แต่เมื่อดูสาเหตุลึกๆแล้ว ที่ระบบยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีบางช่วงเวลาที่ถังน้ำเต็มไปก่อน (Unused Fraction = 9.2%) ดังนั้น หากสามารถเพิ่มความจุของถังเก็บน้ำได้ก็จะช่วยให้ระบบสามารถผลิตน้ำได้เพียงพอกับความต้องการใช้ตลอดทั้งปีได้รูปที่ 4 ผลการออกแบบ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
- อีกทางเลือกคือถ้าแก้ไขเพิ่มความจุถังไม่ได้ เราก็อาจจะแก้ไขโดยเพิ่มจำนวนแผงเข้าไปอีกหน่อย (แต่ยังไม่เกิน capacity ของ MPPT controller) เช่น กรณีนี้เราเพิ่มแผงไปอีก 2 แผง รวมเป็น 10 แผง ก็จะทำให้ได้น้ำเพิ่มขึ้นเป็น 14,282 ลูกบาตรเมตรต่อปีใกล้เคียงกับปริมาณน้ำที่ต้องการตลอดทั้งปี แต่ทั้งนี้ก็แลกมากับพลังงานสูญเปล่าที่เพิ่มขึ้น (Unused Fraction = 13.5%)
รูปที่ 5 ผลการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อมีการเพิ่มแผ่นอีก 2 แผ่น
รูปที่ 6 ปริมาณการสุบน้ำในแต่ละชั่วโมง
ข้อควรระวังเมื่อใช้ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
- ปัญหาสูบน้ำไม่ขึ้น หรือปั๊มทำงานวันละ 2-3 ชม ทำให้ได้น้ำไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้จำนวนแผ่น solar cell ที่น้อยเกินไป (ส่วนมากคนจะเลือกจำนวนแผง solar cell ให้รวมแล้วเท่ากับกำลังไฟฟ้าของปั๊มน้ำเท่านั้น) แต่จริงๆ แล้วควรพิจารณาใช้จำนวนแผ่นที่มากกว่าขนาดของปั๊ม หรือ inverter อีกเล็กน้อย ซึ่งการเพิ่มแผ่น solar cell ให้มีกำลังไฟฟ้าที่มากขึ้นจะทำให้ปั๊มเริ่มทำงานเร็วขึ้น รวมถึงเดินปั๊มได้ปริมาณน้ำมากขึ้นต่อวันนั่นเอง
- ปัญหาการสูบน้ำจนหมดบ่อ ถ้าหากอัตราการสูบน้ำมากเกินไปจนน้ำจากบริเวณข้างเคียงไหลมาเพิ่มในบ่อไม่ทัน ทำให้น้ำหมดบ่อ ปั๊มเดินตัวเปล่านานๆ จะเกิดความเสียหาย ซึ่งการแก้ปัญหานี้ทำได้ง่ายๆ โดยการเพิ่ม level switch เพื่อตัดการทำงานของปั๊มน้ำ เมื่อระดับน้ำในบ่อลดลงต่ำกว่าค่าๆหนึ่ง (HD < Hmax)รูปที่ 7 ระดับน้ำใต้ดินเมื่อมีการสูงจะมีการลดลงซึ่งอาจจะทำให้ปั๊มเดินตัวเปล่า
- ปัญหาขาดแคลนอะไหล่ หรือไม่มีบริการหลังการขาย ส่วนมากมักเกิดกับสินค้าที่ไม่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ซึ่งแม้ว่าระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จะไม่มีชิ้นส่วนให้ต้องซ่อมบำรุงมากมาย แต่หากปั๊มน้ำมีปัญหาแล้วเราสามารถซ่อมแซมได้ (แทนที่จะต้องเปลี่ยนปั๊มใหม่ทั้งตัวเมื่อไม่มีอะไหล่จำหน่าย) ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบ รวมถึงต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของระบบที่ดีกว่าการเลือกใช้สินค้าที่ไม่มีบริการหลังการขายเช่นกัน
Source:
https://www.nexte.co.th/2020/01/09/ติดตั้งโซล่าเซลล์
https://www.grundfos.com/market-areas/water/solar-water-solutions.html
https://www.pvsyst.com/help/index.html?pumping_systems.htm
https://solarpowergenie.com/9-common-problems-with-solar-pumps-with-fixes/
อยากสอบถามโปรแกรมที่ใช้สำหรับการคำนวณได้ไหมครับ พอดีศึกษาเรื่องนี้อยู่ ขอบคุณครับ
รบกวนตอบกลับทีนะครับ