แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 (update Q2-2022) และเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวแผงโซล่าเซลล์ Tier 1
แผงโซล่าเซลล์Tier1 การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์จากผู้ผลิตแต่ละรายนั้นคล้ายกันกับการเลือกซื้อรถยนต์ ในหนึ่งยี่ห้อผู้ผลิตแผงโซลล่าเซลล์อาจจะมีแผงโซล่าเซลล์หลายๆ รุ่นจำน่าย ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีข้อดีที่แตกต่างกันไป (เช่นเดียวกับผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ก็มีรถรุ่นแคมรี่ หรือ ฟอร์จูนเนอร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป)
ปัจจุบันในวงการอุตสาหกรรมผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ ได้มีรายงานการจัดลำดับผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง ได้แก่ Bloomberg Module Tiering List หรือ the PV Moduletech Bankability Report ซึ่งเป็นการประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทผู้ผลิต โดยมักจะถูกใช้โดยนักลงทุน หรือผู้ให้สินเชื่อ เมื่อต้องพิจารณาการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ๆ
** แต่หลังจากหลายปีของการถูกใช้ในทางที่ผิดโดยนักการตลาดที่บิดเบือนใช้คำว่า Tier 1 เป็นกลวิธีในการขายแผงโซลล่าเซลล์ Bloomberg New Energy Finance ได้แทรกคำชี้แจงต่อไปนี้ (Link)อ้างอิง ภายในเอกสารรับสมัครเพื่อขอรับรายชื่อ Bloomberg Module Tiering:
“We strongly recommend that module purchasers and banks do not use this list as a measure of quality, but instead consult a technical due diligence firm such as RINA (formerly OST Energy), ATA Renewables, Wood Plc, PVEL, Black & Veatch, TUV, E3, STS Certified, Clean Energy Associates, PI Berlin, Pvbuyer, Enertis, Oravia, Leidos Engineering, the Austrian Institute of Technology (AIT) or Phoventus. These would usually consider what factory the module comes from, as well as the brand, and give an informed opinion on whether the modules will perform as expected.”
แปลไืทยได้ว่า “เราขอแนะนำอย่างยิ่งให้ผู้ซื้อแผงโซล่าเซลล์และธนาคารไม่ใช้การจัดลำดับนี้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพ แต่ควรปรึกษากับบริษัทตรวจสอบวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่น RINA (เดิมคือ OST Energy), ATA Renewables, Wood Plc, PVEL, Black & Veatch, TUV , E3, STS Certified, Clean Energy Associates, PI Berlin, Pvbuyer, Enertis, Oravia, Leidos Engineering, Austrian Institute of Technology (AIT) หรือ Phoventus ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะพิจารณาว่าแผงโซล่าเซลล์นั้นมาจากโรงงานใด เช่นเดียวกับแบรนด์ และให้ความเห็นอย่างมีหลักเกณท์ว่าแผงโซล่าเซลล์จะทำงานตามที่คาดไว้หรือไม่” โดยบริษัท เน๊กซ์อี ของเราก็ได้มีการติดตามข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ประสิทธิภาพ การรับประกันสินค้า เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ลูกค้าในการเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์เช่นกัน
ความเข้าใจที่ผิดพลาดของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 มี4ข้อดังนี้
- ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 – เนื่องจากการจัดลำดับของ Bloomberg New Energy Finance Report or the PV Moduletech Bankability Ratings Quarterly Report เป็นการจัดลำดับของผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์
- แต่ผู้ผลิตที่ไม่อยู่ใน Tier 1 ไม่ได้แปลว่าจะผลิตสินค้าไม่ดี – ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่มีนวัตกรรมหรือเป็นที่ยอมรับมากที่สุดบางรายทั่วโลกไม่อยู่ในรายงานการจัดลำดับ Tier 1 อาทิเช่น Panasonic, Solaria, Winaico, Solarwatt, Meyer Burger, Peimar, Tindo, Aleo หรือแม้แต่ Tesla ที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมที่โดดเด่นก็ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Tier 1 แต่อย่างใด
- Tier 1 ไม่ได้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ – ตามที่กล่าวมาก่อนนี้ว่า Tie 1 เป็นการจัดลำดับของบริษัทที่เป็นผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะมีแผงโซล่าเซลล์หลายรุ่น หลายระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพให้เลือก (เปรียบเทียบเช่นเดียวกับบริษัทรถยนต์ ที่มีรุ่นรถให้เลือกตั้งแต่รถระดับพรีเมี่ยม ไปจนถึงรถระดับเริ่มต้น ซึ่งก็จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับเช่นกัน) ดังนั้นการเลือกแผงโซล่าเซลล์จึงไม่เพียงแต่พิจารณาผู้ผลิตที่เป็น Tier – 1 เท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาลงไปถึงรุ่นของแผงโซล่าเซลล์ด้วย
- Tier 1 ไม่ได้เป็นสถานะการรับรองที่คงอยู่กับแผงตลอดไป – เนื่องจากการประเมินสถานะของบริษัทผู้ผลิต Tier 1 จะมีการประเมินใหม่ทุกไตรมาส (ตามสถานะทางการเงินของบริษัท) ทำให้ Tier 1 ไม่ได้เป็นคุณสมบัติหรือสถานะที่จะคงอยู่กับแผงโซลล่าเซลล์ตลอดไป
รายชื่อผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ Tier 1 ใน Q2-2022
Manufacturer | Solar Analytica Combined Product Ranking Avg. /100 | Q1 | Q2 | Q3 | Q4 |
Sunpower/ Maxeon | 89.7 | Y | Y | – | – |
LG Solar | 84.3 | Y | Y | – | – |
Trina Solar | 77.9 | Y | Y | – | – |
REC Group | 77.3 | Y | Y | – | – |
Jinko | 76.8 | Y | Y | – | – |
QCells | 76 | Y | Y | – | – |
LONGi | 75.6 | Y | Y | – | – |
Canadian Solar | Y | Y | – | – | |
Risen Energy | – | Y | Y | – | – |
JA Solar | – | Y | Y | – | – |
Astronergy | – | Y | Y | – | – |
Suntech | – | Y | Y | – | – |
First Solar | – | Y | Y | – | – |
Hyundai | – | Y | Y | – | – |
Phono Solar | – | Y | Y | – | – |
BYD | – | Y | Y | – | – |
Seraphim | – | Y | Y | – | – |
EGing PV | – | Y | Y | – | – |
HT-SAAE | – | Y | Y | – | – |
Jinergy | – | Y | Y | – | – |
Talesun | – | Y | Y | – | – |
Jolywood | – | Y | Y | – | – |
ZNShine | – | Y | Y | – | – |
Haitai | – | Y | Y | – | – |
Jetion | – | Y | Y | – | – |
Boviet | – | Y | Y | – | – |
Adani | – | Y | Y | – | – |
DMEGC | – | Y | Y | – | – |
GCL System | – | Y | Y | – | – |
AU Optronics | – | Y | Y | – | – |
Beyond Sun | – | Y | Y | – | – |
Tongwei | – | Y | Y | – | – |
TSEC | – | Y | Y | – | – |
UREC | – | Y | Y | – | – |
Waaree | – | Y | Y | – | – |
VSUN Solar | – | Y | Y | – | – |
Ulica Solar | – | Y | N | – | – |
Swelect | – | Y | Y | – | – |
Sharp | – | Y | Y | – | – |
S-Energy | – | Y | Y | – | – |
Renesola Yixing | – | Y | Y | – | – |
Recom | – | Y | Y | – | – |
Neo Solar Power / URE | – | Y | Y | – | – |
Leapton Energy | – | Y | N | – | – |
Hansol Technics | – | Y | Y | – | – |
Exiom Group | – | Y | Y | – | – |
AE Solar | – | Y | Y | – | – |
Vikram | – | Y | Y | – | – |
Motech | – | Y | Y | – | – |
CECEP | – | Y | Y | – | – |
ET Solar Inc | – | Y | Y | – | – |
Solargiga | – | Y | Y | – | – |
Sunport | – | Y | Y | – | – |
Hevel | – | Y | Y | – | – |
Yingli Silfab | – | Y | Y | – | – |
Dongfang | – | Y | N | – | – |
ShinSung | – | Y | Y | – | – |
Renewsys | – | Y | Y | – | – |
Dehui | – | Y | Y | – | – |
AKCOME | – | N | Y | – | – |
MEYER BURGER | – | N | Y | – | – |
CGS | – | N | Y | – | – |
HELIENE | – | N | Y | – | – |
HUASUN | – | N | Y | – | – |
GOLDI | – | N | Y | – | – |
GREEN WING | – | N | Y | – | – |
NEW EAST | – | N | Y | – | – |
PHILADEPHIA SOLAR | – | N | Y | – | – |
อ้างอิงจาก
Tier-1 Solar Panels List 2022 (Q1, Q2, Q3, Q4). (solaranalytica.com)