AMR หรือ Automatic meter reading  คือ ระบบอ่านข้อมูลจากมิเตอร์ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ผ่านระบบสื่อสารประเภทต่างๆ โดยจะถูกติดตั้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่มีการติดตั้งหม้อแปลงขนาด 100kVA หรือมีการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 30kW ขึ้นไป ในพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) โดยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเรียกดูข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนเองผ่านอินเตอร์เน็ตได้ โดยจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ

1. Digital หรือ Electronic Meter

2. ระบบและอุปกรณ์สื่อสาร ได้แก่ GPRS/GSM/3G Modem และ Mobile Network

3. Server และ AMR Software

ข้อมูลจาก AMR จะแสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้าก 15 นาทีตามช่วงเวลา เช่น รายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน, รายปี หรือเรียกว่า Load profile โดย Load profile จะแสดงในรูปแบบกราฟเส้น และ ยังสามารถ export ข้อมูลมาเป็น excel เพื่อนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมการการใช้ไฟฟ้าได้ โดยข้อมูลต่างๆ สามารถประเมินการติดตั้งเท่าไรถึงจะเหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. โหลดข้อมูล Load profile จาก AMR โดยสามารถเข้าไปได้ที่  https://www.amr.pea.co.th/AMRWEB/ โดยจะต้องติดต่อขอ Username และ Password กับ PEA ในพื้นที่นั้นๆ เพื่อที่จะดูข้อมูลดังกล่าว
  2. การจัดการข้อมูล โดย Load profile อาจจะไม่นิ่ง หรือ ไม่เท่ากัน ในแต่ละวัน สิ่งที่จำเป็นคือ จะต้องจัดการข้อมูลเพื่อเป็นตัวแทนของ Load profile ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ โดยปกติ การหาตัวแทนการใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อที่จะใช้ในการออกแบบจะนิยมใช้ ค่าเฉลี่ย หรือ ฐานนิยม (ฐานนิยม ทำให้เรารู้ว่าโดยปกติเราใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไร  ซึ่งจะมีส่วนผิดปกติที่ทำให้ค่าเฉลี่ยผิดเพี้ยน เช่น วันหนึ่งมีการดับไฟฟ้า ค่าเฉลี่ยจะต้องนำวันที่ไฟฟ้าดับมาคำนวนด้วย แต่ถ้าเป็น ฐานนิยมจะมีการตัดส่วนนั้นทิ้งไป จึงทำให้ค่าที่ได้จะไม่มี ค่าที่ไม่ปกติปกติทั้งทางสูงและทางต่ำ) โดยตัวอย่างด้านล่างจะเป็นตัวอย่างที่ใช้ค่าเฉลี่ยของโหลดที่ไม่คงที่ตลอดวันมาเป็นข้อมูลตั้งต้นในการประเมินกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์
จากข้อมูลที่ได้มากจาก AMR จำนวน 5 ข้อมูล (เส้นปะ) เราสามารถหาค่าเฉลี่ย หรือ mean (สีม่วงเส้นทึบ) เพื่อเป็นตัวแทน load profile

เมื่อได้ load profile ที่เป็นตัวแทนของการใช้ไฟฟ้าตามข้อ 2 แล้ว ใส่ข้อมูลกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เรียกว่า production profile ซึ่งรูปแบบของ profile จะเป็น bell curve โดยช่วงต้นจะผลิตไฟได้น้อย และจะ peak สุดในช่วงประมาณเที่ยง และลดต่ำลงในช่วงเย็น โดย profile นั้นจะขึ้นกับรูปแบบการติดตั้ง ชนิดของแผ่น เทคโนโยลีของแผ่น เช่น ความไวต่อแสง ประสิทธิภาพของแผ่น การ loss ในระบบ เช่น ความยาวสายไฟ หรือ ประเภทของสายไฟฟ้า และ อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องใช้โปรแกรมจำลองเพื่อหากำลังการผลิตติดตั้ง เช่น PVsyst , Solar Edge designer หรือ Smart design ของ Huawei (NextE เราใช้ทั้งสามโปรแกรม)

โดยปกติแล้วค่าเฉลี่ยในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จะได้ประมาณ 4 ชั่งโมง โดย production profile รูป bell curve ต้องออกแบบให้ไม่เกิน Load profile ตามตัวอย่างด้านล่าง ปกติแล้วจะใช้วิธีการ trial and error เพื่อพิจารณาว่าจะต้องใช้กำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุดเท่าไร หรือ ถ้าจะใช้วิธีหาค่ากำลังการผลิตจากค่า peak ในช่วงเที่ยงโดยทั่วไปจะประมาณ 80% ของกำลังผลิตติดตั้ง โดยกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ นั้นเท่ากับ load เฉลี่ยหารกับ 80% นั้นเอง

สำหรับตัวอย่างนี้ Load profile  มีค่าเฉลี่ยนที่ประมาณ 24 kW โดยใช้วิธี trial and error เพื่อที่จะให้ production profile ไม่เกินเส้น load profile ซึ่งสามารถสามารถที่จะติดตั้ง solar ได้ประมาณ 28 kW โดยถ้าหากติดตั้งมากกว่านี้ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตเกินเส้น load profile จะไหลเข้าไปในระบบการไฟฟ้า ซึ่งจะไม่ได้เป็นการลดค่าไฟฟ้า

 


load profile และ production profile

เมื่อติดตั้งแล้วค่า Load profile ใหม่จะเป็นแบบตัวอย่างด้านล่าง (เส้นสีเขียว) โดยหากติดตั้งดังกล่าว ระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะทำแทนไฟฟ้าจากการไฟฟ้าประมาณ 45% โดยหลังติดตั้งจะมีไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จ่ายเข้าระบบ 140 หน่วยต่อวัน และ ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าอีก 170 หน่วยต่อวัน (เส้นสีเขียว)

load profile ก่อนติดตั้ง และ load profile หลังติดตั้ง

เมื่อเลือกกำลังติดตั้งเสร็จสิ้นแล้ว  เราจะใช้ค่าต่างๆสำหรับวิเคราะห์ความคุ้มค่าต่างๆ โดยจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV system Project Feasibility Study) ซึ่งสามารถดูได้จาก https://www.nexte.co.th/2019/11/27/project-feasibility-study/

หากไม่มีระบบดังกล่าว หรือ ยุ่งยากเกินไปเราก็สามารถที่จะประเมินกำลังการติดตั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้จาก https://www.nexte.co.th/2019/12/30/installed-solar-pv-power1/ ครับ หรือ ถ้าต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่ sales@nexte.co.th ตลอดนะครับ