ตามที่เคยเขียนในบทความเมื่อหลายปีก่อนว่าระบบโซล่าเซลล์สามารถแบ่งตามวิธีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้าได้ 3 ประเภท คือ ระบบ on-grid, ระบบ off-grid และ ระบบ hybrid รวมถึงได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับระบบ hybrid ว่ายังมีราคาที่แพงอยู่ ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ณ เวลานั้น แต่ปัจจุบันราคาของแบตเตอรี่เริ่มลดลง มีผู้ผลิตหลายรายเริ่มมีการแนะนำ solution ของการใช้งานแบตเตอรี่ร่วมกับระบบโซล่าเซลล์ เพื่อบริหารจัดการค่าไฟฟ้ารวมถึงการสำรองไฟฟ้าในช่วงที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ประกอบกับราคาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้งานร่วมกับระบบเก็บกักพลังงานประเภทแบตเตอรี่เริ่มกลับมามีความคุ้มค่าในการลงทุน

เนื่องจากยังเป็นช่วงแรกที่มีการใช้งานแบตเตอรี่เพื่อทำงานในระบบ Hybrid ทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบ การติดตั้ง รวมถึงรายการของอุปกรณ์ที่ผ่านการรับรอง ยังไม่ได้มีการรวมรวมให้เป็นหมวดหมู่ บริษัท เน็กซ์อี จึงขอทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้งานระบบโซล่าเซลล์ แบบ Hybrid ได้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นก่อนศึกษาข้อมูลในรายละเอียดของระบบตามความต้องการต่อไป

รูปแบบการเชื่อมต่อแบตเตอรี่กับระบบโซล่าเซลล์ อ้างอิงตามมาตรฐาน วสท. 022013-22 มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของระบบการผลิตไฟฟาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2565 ได้มีการแยกรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบแบตเตอรี่กับระบบโซล่าเซลล์ออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย

  1. การเชื่อมต่อระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ที่จุดร่วม AC (AC coupling)
  2. การเชื่อมต่อระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ที่จุดร่วม DC (DC coupling)
  3. การเชื่อมต่อระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ที่ใช้ Hybrid PCE
  4. การเชื่อมต่อระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สำหรับระบบ UPS

 

ระบบ AC coupling เป็นรูปแบบการติดตั้งที่ง่ายที่สุด โดยระบบที่เป็น AC coupling จะใช้อุปกรณ์ PCE (Power Conversion Equipment) ทำการแปลงไฟฟ้า AC เป็น DC เพื่อชาร์ตเข้าระบบแบตเตอรี่ในช่วงที่ค่าไฟถูกและแปลงพลังงานที่เก็บในแบตเตอรี่จาก DC กลับเป็น AC ในช่วงที่ค่าไฟแพงหรือไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบ AC coupling ถือว่ามีความยืดหยุ่นมาก เนื่องจากแบตเตอรี่สามารถทำงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นกับระบบโซล่าเซลล์ สามารถติดตั้งเพิ่มจากระบบโซล่าเซลล์ที่มีอยู่เดิมได้ (แต่ถ้าระบบโซล่าเซลล์และระบบแบตเตอรี่สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้จะทำให้การบริหารจัดการพลังงานมีประสิทธิภาพมากกว่า)

   ตัวอย่างของ AC couplinp

                                               

  Tesla power wall Powerwall | Tesla Other Europe

 

SunVault™ Battery (by Sunpower)

                                             SunVault the Solar Battery Storage System for Homeowners | SunPower

 

          Sungrow: SC50HV *ใช้งานเป็น PCE ร่วมกับ High Voltage Battery SBR096/128/160/192/224/256                                                                   

ระบบ DC coupling เป็นการเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับอินเวอร์เตอร์ของระบบโซล่าเซลล์โดยระบบจะมีการแยก PCE ของระบบแบตเตอรี่ออกจากระบบโซล่าเซลล์ โดย PCE ของระบบแบตเตอรี่จะทำหน้าที่บริหารจัดการชุดแบตเตอรี่ที่สามารถต่อขนานไปหลายๆชุดเพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บพลังง

ตัวอย่างของ DC coupling

Huawei Inverter with ESS โดยที่ระบบ ESS ของ Huawei สามารถติดตั้งร่วมกับ Back Box เพื่อให้สามารถอินเวอร์เตอร์สามารถจ่ายไฟสำรองให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญ (Important Load) ได้ (รุ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้วได้แก่ SUN2000-3/5KTL-L1, SUN2000-5/10KTL-M1)

 

                                                                                                                                                                     

       Residential (huawei.com) 

 

ระบบ Hybrid PCE มีความคล้ายคลึงกับระบบ DC Coupling แต่มีการรวม function PCE ของระบบแบตเตอรี่เข้ามาไว้ในตัวอินเวอร์เตอร์ ซึ่งทำให้ลดความซับซ้อนในการติดตั้ง และในบางกรณีผู้ผลิตอาจจะรวมอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่เข้ามาใน package เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งานและลดพื้นที่ในการติดตั้ง

    ตัวอย่างของ Hybrid PCE

Sungrow: SH5K-30 (ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้ว)

 

Goodwe: GW5048D-ES (ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้ว)

ข้อดีอีกประการของระบบ Hybrid PCE คือ ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์จะเปิดให้ผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ได้หลากหลายมากกว่า ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกที่เหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น อินเวอร์เตอร์ของ Goodwe สามารถใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ของ Goodwe, ALPHA-ESS, Soluna, BYD, LG, PYLON, DYNESS, OLOID ได้เป็นต้น

 

 

                                                                                                                          Soluna | Power Designed

ระบบแบตเตอรี่ UPS เป็นระบบที่สามารถเก็บกักไฟฟ้าและจ่ายไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับได้ ระบบ UPS มีความคล้ายคลึงกับระบบ AC coupling เพียงแต่ UPS จะจ่ายไฟฟ้าสำรองให้กับโหลดที่มีการสำรองไฟเท่านั้น ต่างจาก AC coupling ที่จ่ายไฟ AC กลับคืนที่ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก ดังนั้นการติดตั้ง UPS จึงไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าเดิมของอาคาร (และไม่ต้องทำการขออนุญาตขนานไฟฟ้า)

 

  ตัวอย่างของ UPS Schneider Electric

ซึ่งข้อดีของ UPS ที่เหนือว่าระบบสำรองไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกับระบบโซล่าเซลล์คือการตัดต่อวงจรที่รวดเร็ว โดยไม่เกิดผลกระทบต่ออุปกรณ์อิเลคทรอนิคที่มีความละเอียดอ่อน อย่างไรก็ดี มีผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์บางรายได้นำเสนอระบบ Hybrid PCE ที่มีความสามารถในการตัดต่อวงจรที่รวดเร็วเหมือน UPS เช่นกัน อาทิเช่น

 

  Goodwe: GW50K-ETC 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปการเชื่อมต่อแต่ละแบบ เหมาะกับใคร

AC Coupling – เหมาะกับลูกค้าที่มีระบบโซล่าเซลล์อยู่แล้ว เพราะสามารถติดตั้ง PCE และแบตเตอรี่เพิ่มเข้าไปในระบบได้เลย โดยการออกแบบให้คำนึงถึงกำลังไฟฟ้าใช้งานและความจุของแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

DC Coupling เหมาะกับลูกค้าที่มีระบบโซล่าเซลล์อยู่แล้วและอินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้งไว้รองรับการใช้งานแบตเตอรี่ โดยลูกค้าสามารถติดตั้งแบตเตอรี่และอุปกรณ์ Back up Box เพิ่มเข้าไปในระบบเดิม ซึ่งจะมีข้อดีคือการดูแลระบบทำได้ง่ายและการบริหารจัดการพลังงานระหว่างไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มีประสิทธิภาพมากกว่า

Hybrid PCE เหมาะกับการติดตั้งโซล่าเซลล์ใหม่ โดย Hybrid PCE มอบทางเลือกการออกแบบระบบที่ยืดหยุ่นมากกว่า 2 แบบแรก แต่การออกแบบและเลือกใช้อุปกรณ์ควรทำโดยผู้มีความชำนาญเพื่อให้ระบบออกมามีประสิทธิภาพและใช้งานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด

UPS เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า (โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบโซล่าเซลล์ก็ได้)

เรียบเรียงข้อมูลโดยNextE