RCBO สำหรับระบบโซล่าเซลล์ หรือ RCCB หรือ breaker ทีมี ground fault protection เป็นสิ่งที่วิศวกรผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์น่าจะมีความคุ้นเคยเนื่องจากเป็นมาตราฐานในการเชื่อมต่อของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะมีการกำหนดให้ผู้ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะต้องติดตั้งระบบป้องกันไฟรั่วดังกล่าวเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้า
สาเหตุที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วในระบบโซล่าเซลล์
โดยหลักแล้วจะมี 2 สาเหตุที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วในระบบโซล่าเซลล์ดังนี้
- Capacitive discharge current หรือกระแสรั่วแบบคาปาซิทีฟ เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนแผงโซล่าเซลล์จากการที่วัสดุฉนวนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นแผงโซล่าเซลล์ประพฤติตัวเสมือนเป็นตัวเก็บประจุ (parasitic capacitance) ดังแสดงได้ตามรูปภาพ
Source: SMA
C1 = ค่า capacitance ที่เกิดจากฟิลม์น้ำบนผิวกระจกด้านบนแผ่นโซล่าเซลล์
C2 = ค่า capacitance ที่เกิดจากเฟรมของแผ่นโซล่าเซลล์
C3 = ค่า capacitance ที่เกิดจากพื้นที่ผิวของหลังคา
โดยคุณสมบัติการเป็นตัวเก็บประจุนี้จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย อธิบายได้ตามสมการ
โดยที่ค่าความเป็นตัวเก็บประจุรวม(CPE) ของระบบนี้ จะเท่ากับ CPE = C1 + C2 + C3 ซึ่งในสภาวะทั่วไป ทั้ง C1, C2 และ C3 จะมีค่าน้อยมาก จนไม่ทำให้เกิดไฟรั่วในระดับที่เครื่องตัดไฟรั่วทำงาน แต่เมื่อมีชั้นของน้ำมาเคลือบเป็นฟิลม์บนผิวหน้าของแผงโซล่าเซลล์จะทำให้ค่า C1 เพิ่มขึ้นอย่างมาก และเป็นเหตุทำให้เครื่องตัดไฟรั่วทำงาน
สำหรับกระแสรั่วแบบคาปาซิทีฟ เราจะเห็นว่าค่าของความเป็นตัวเก็บประจุนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดผิวหน้าของแผงโซลล่าเซลล์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ยิ่งอินเวอร์เตอร์มีขนาดกำลังการผลิตเพิ่มมาขึ้นเท่าไหร่ (ใช้กับแผงจำนวนมากขึ้นเท่าไหร่) ค่ากระแสไฟรั่วนี้ก็จะมีขนาดที่เพิ่มมากขึ้นตามเท่านั้น สำหรับระบบที่ต้องมีการติดตั้งระบบตรวจจับไฟรั่วเพิ่มเติม ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์ชั้นนำ เช่น Solaredge, Huawei, SMA และ Sungrow ก็มักจะแนะนำขนาดของระบบตรวจจับไฟรั่ว ที่มีพิกัดมากขึ้นตามกำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์
สำหรับ Huawei อินเวอร์เตอร์
Inverter model |
Minimum RCD Value |
SUN2000-3/4/5/6/8/10 KTL |
100mA |
SUN2000-12/15/17/20 KTL |
300mA |
SUN2000-30KTL |
300mA |
SUN2000-50KTL |
500mA |
SUN2000-100KTL |
900mA |
สำหรับ SolarEdge อินเวอร์เตอร์
Inverter model |
Minimum RCD Value |
SE12.5K, SE15K, SE16K, SE17K |
100mA |
SE30K, SE40K1 |
100mA |
SE25K, SE27.6K, SE33.3K2 |
100mA |
SE50K, SE55K, SE66.6K, SE80K3 |
200mA |
SE75K, SE82.8K, SE90K, SE100K, SE120K4 |
300mA |
- สาเหตุอีกประการที่พบมากเกิดจากความเสียหายของฉนวนสายไฟ โดยผิวที่เป็นฉนวนของสายไฟอาจจะได้รับความเสียหายขณะติดตั้งหรือภายหลังติดตั้ง ซึ่งในกรณีนี้สามารถทำการตรวจสอบได้โดยการใช้เครื่องวัดค่าความเป็นฉนวนของสายไฟ ทดสอบสอบสายไฟทุกครั้งหลังจากทำการเดินสายไฟฟ้าเสร็จ (ทำการวัดโดยใช้แรงดัน 1000 VDC ค่าความเป็นฉนวนไม่น้อยกว่า 1 MΩ) ซึ่งทำให้ในทางปฏิบัติแล้วเราจะสามารถตรวจสอบไฟฟ้ารั่วที่เกิดจากสาเหตุนี้ได้ง่ายกว่าแบบแรก
มาตราฐาน RCBO สำหรับระบบโซล่าเซลล์
ในระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการระบุถึงอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าที่สามารถตรวจจับและตัดไฟรั่วไว้หลายชนิด เช่น RCCB, RCBO และ MCCB ที่มีฟังก์ชั่น Ground fault protection ซึ่งทั้งหมดมีความสามารถในการตรวจจับไฟรั่วได้ เพียงแต่มีรายละเอียดปลีกย่อยในการออกแบบ ติดตั้ง และ ใช้งานในเงื่อนไข สถานการณ์ที่แตกต่างกันไป สำหรับมาตราฐานของ RCBO สามารถอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC และ มาตรฐาน มอก ได้ตามตาราง มีดังนี้
ชนิดอุปกรณ์ตรวจจับไฟรั่ว | มาตรฐาน IEC | มาตรฐาน มอก |
RCBO | IEC 61009-1 | มอก 909 |
IEC 61009-2-1 | ||
IEC 61009-2-2 | ||
RCCB, RCBO type F, B | IEC 62423 | มอก 2955 |
โดย RCCB และ RCBO ที่เราพูดถึงในบทความนี้นั้น ใช้เรียกเฉพาะ RCD ที่มีพิกัดกระแสไม่เกิน 125 A ซึ่งมีใช้ทั่วไปตามบ้านอยู่อาศัย หรือสถานที่คล้ายกัน โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 61008-1 และ IEC 61009-1 ตามลำดับ ในกรณีที่พิกัดกระแสเกิน 125 A จะถือว่าเป็น RCD ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม และใช้เรียกด้วยคำว่า CBR (circuit-breaker incorporating residual current protection) เป็น circuit-breaker ป้องกันกระแสเกินที่มีการเพิ่มชุดอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วเข้าไป โดยอาจจะติดตั้งมาจากโรงงาน หรือมาประกอบระหว่างการติดตั้ง ซึ่ง CBR นั้นผู้ใช้งานความเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบระบบป้องกันทางไฟฟ้า โดยคุณสมบัติด้านไฟรั่วอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60947-2 Annex B
ตัวอย่า RCBO 4P ยี่ห้อ etek
ชนิดของ RCBO และ RCCB
ตามมาตรฐาน IEC 60755 อุปกรณ์ตรวจจับไฟฟ้ารั่วแบ่งได้ 4 ประเภทได้แก่
Type AC: สามารถตรวจจับไฟรั่วในระบบไฟฟ้ากระแสสลับได้เท่านั้น เหมาะสำหรับการใช้ในงานบ้านทั่วไป
Type A: มีความสามารถเหมือนกับ type AC แต่เพิ่มความสามารถตรวจจับไฟรั่วที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นขนาดเล็กขี่ซ้อนอยู่บนไฟฟ้ากระแสตรง (pulsating DC) โดยมีค่า pulsating DC ไม่เกิน 6 mA
Type F: เป็น type ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา โดยมีความสามารถเหมือนกับ Type A แต่เพิ่มการตรวจจับไฟรั่วในวงจรที่มีการแปลงความถี่ไฟฟ้าด้วย เช่น วงจรขับมอเตอร์ต่างๆ (Variable Speed Drive) ที่ทำให้เกิดคลื่นความถี่สูงซ้อนอยู่กับไฟฟ้ากระแสสลับ 50Hz
Type B: มีความสามารถเหมือนกับ Type F แต่เพิ่มความสามารถในการตรวจจับไฟรั่วที่ความถี่สูงถึง 1,000 Hz และขนาดของกระแสไฟรั่ว AC ที่ขี่ซ้อนบนไฟฟ้ากระแสตรงได้ถึง 0.4 เท่าของกระแสพิกัดไฟรั่ว จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้งานกับอินเวอร์เตอร์ของโซล่าเซลล์และ EV charger ต่างๆ
อธิบาย type ของอุปกรณ์ตรวจจับไฟรั่วให้เห็นเป็นภาพง่ายๆ ตามด้านล่าง
ที่มา: electrical-installation.org
การเลือกใช้งานและการติดตั้ง RCBO สำหรับระบบโซล่าเซลล์
- เลือกขนาดพิกัดไฟรั่ว (ความไว) ของ RCBO ให้เป็นไปตามระบบติดตั้งโซลล่าเซลล์ โดยคำนึงถึงกระแสรั่วแบบคาปาซิทีฟ ตามที่ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์แนะนำ เช่น ระบบโซล่าเซลล์ 10 กิโลวัตต์ของ huawei ก็จะเป็น SUN2000-3/4/5/6/8/10 KTL ซึ่งจะต้องเลือกความไวที่ 100mA
- เลือกชนิด RCBO ที่เหมาะสม
- เลือกพิกัดกระแสลัดวงจร
- RCBO ที่ใช้สำหรับป้องกันวงจรย่อยในตู้ประธาน ควรมีพิกัดกระแสลัดวงจรไม่ต่ำกว่า 6 kA และ หากใช้ RCBO เป็น main switch จะต้องมีมีพิกัดกระแสลัดวงจรไม่ต่ำกว่า 10 kA
- ตำแหน่งการติดตั้ง RCBO สำหรับ การติดตั้งโซล่าเซลล์ จะแนะนำเป็น type B โดยจะความสามารถเหมือนกับ Type F แต่เพิ่มความสามารถในการตรวจจับไฟรั่วที่ความถี่สูงถึง 1,000 Hz และขนาดของกระแสไฟรั่ว AC ที่ขี่ซ้อนบนไฟฟ้ากระแสตรงได้ถึง 0.4 เท่าของกระแสพิกัดไฟรั่ว จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้งานกับอินเวอร์เตอร์ของโซล่าเซลล์และ EV charger ต่าง (อ่านเพิ่มเติม มาตราฐานการติดตั้ง EV charger)
หากระบบไฟฟ้าเดิมมีเครื่องป้องกันไฟรั่วขนาด 30mA ติดตั้งอยู่แล้ว ต้องเชื่อมต่อ Inverter เข้ากับระบบไฟฟ้าของบ้านผ่าน Circuit Breaker ธรรมดา เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องป้องกันไฟรั่วทำงานผิดพลาด ตาม diagream ด้านล่าง
การเชื่อมต่อตาม 2 ภาพด้านบนจะช่วยให้เครื่องกันไฟรั่ว ขนาดกระแส 30 mA ที่มีอยู่เดิมในบ้าน ไม่ตรวจจับกระแสไฟที่รั่วออกมาจากอินเวอร์เตอร์ หากแต่เมื่อทำการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เรายังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ RCBO เพิ่มเติมในฝั่งของตู้โซลล่าเซลล์ให้มีขนาดตรวจจับขนาดของกระแสไฟรั่วตามพิกัดที่ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์แนะนำได้โดยไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าเดิมของบ้าน
สำหรับประเทศไทย มาตรฐานของ กฟภ กำหนดให้ผู้ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไฟรั่ว ชนิด RCBO หรือ ชนิด RCCB ทำงานร่วมกับ Over Current Circuit Breaker ส่วนมาตรฐานของ กฟน กำหนดให้มีเฉพาะ Over Current Circuit Breaker เท่านั้น แต่การไม่ได้กำหนดให้มีอุปกรณ์ตรวจจับไฟฟ้ารั่วของ กฟน ไม่ได้หมายความว่ามาตรฐานละเลยความปลอดภัยในส่วนนี้ไปแต่อย่างใด เนื่องจากการป้องกันไฟรั่วในระบบ TN-C-S สามารถทำได้โดยการเลือกใช้ Over Current Circuit Breaker ที่เหมาะสม (อ่านเพิ่มเติมใน ระบบสายดิน และ ระบบสายดินของงานโซล่าเซลล์)